มหัศจรรย์โลมา
โลมา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งอาศัยอยู่ในน้ำและมีสติปัญญาสูงชนิดหนึ่ง มีเชื้อสายใกล้เคียงกับ วาฬ ในภาษาอังกฤษเรียกโลมาว่า Dolphin มาจากภาษากรีกโบราณ δελφίς เดลฟิส (delphis) ตำนานกรีก เล่าว่า เทพแห่งไวน์ของกรีก ชื่อ ไดโอนีซอส (Dionysos) แปลงลงมาเป็นมนุษย์ และได้โดยสารเรือข้ามจากเกาะอิคาเรีย (Ikaria) ไปยังเกาะนาซอสในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไดโอนีซอสนั้นแม้จะเป็นเทพ ทว่าไม่มีญาณหยั่งรู้ว่าเรือลำที่ตนโดยสารไปนั้นเป็นเรือโจร ลูกเรือจะปล้นผู้โดยสารทุกคนถ้วนหน้า เมื่อถึงคราวของไดโอนีซอส เขาจึงถูกลูกเรือปล้น และคิดจะจับเขาไปขายเป็นทาส ด้วยเหตุนี้ เขาจึงจำต้องแสดงตนว่าเป็นเทพ และสาปให้เรือมีเถาองุ่นขึ้นเต็ม มีเสียงขลุ่ยดังขึ้น พวกลูกเรือตกใจ จึงกระโดดน้ำหนีไปหมด และได้กลายร่างเป็นปลาโลมา มาจนกระทั่งทุกวันนี้ เมื่อกลายเป็นปลาโลมา นิสัยของลูกเรือก็เปลี่ยนไปด้วย กลายเป็นสัตว์ที่ใจดี มีเมตตา แถมยังช่วยเทพแห่งสมุทร คือ โพซิดอนหาเจ้าสาวอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ปลาโลมาจึงได้รับเกียรติจากโพซิดอน ตั้งชื่อ กลุ่มดาวกลุ่มหนึ่งว่า กลุ่มดาวโลมาอีกด้วย ที่จริงแล้วโลมาเคยเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่บนบกเหมือนมนุษย์ แต่เพื่อความพยายามหาอาหาร เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง และหนีศัตรู โลมาจึงค่อยๆปรับตัวให้ลงไปอยู่ในน้ำ เพื่อความอยู่รอดแทน นั่นเป็นตำนานของคนโบราณ แต่ในความเป็นจริงแล้ว โลมาเป็นสัตว์เลือดอุ่นอาศัยอยู่ในน้ำ คลอดลูก เป็นตัว แถมยังเลี้ยงลูกด้วยนมเหมือนมนุษย์
...*...*...*...*...*...*...*...*...*...*...*...*
โลมาคำว่า "Dolphin" ซึ่งเป็นชื่อสามัญในภาษาอังกฤษที่ใช้เรียกโลมา
มาจากภาษากรีกโบราณคำว่า δελφίς "เดลฟิส" (Delphis) ในเทพปกรณัมกรีก
ไดอะไนซัส เทพเจ้าแห่งไวน์และการเฉลิมฉลอง และหนึ่งในเทพโอลิมปัส
ได้แปลงกายลงมาเป็นมนุษย์ ชื่อ เดลฟิส และได้โดยสารเรือข้ามจากเกาะอิคาเรียไปยังเกาะนาซอส
ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ไดอะไนซัสนั้นแม้จะเป็นเทพ
ทว่าไม่มีญาณหยั่งรู้ว่าเรือลำที่ตนโดยสารไปนั้นเป็นเรือโจร
ลูกเรือจะปล้นผู้โดยสารทุกคนถ้วนหน้า เดลฟิสถูกลูกเรือปล้น
และคิดจะจับไปขายเป็นทาส ด้วยเหตุนี้ เดลฟิสจำต้องแสดงตนเป็นเทพเจ้า และสาปให้เรือมีเถาองุ่นขึ้นเต็ม
มีเสียงขลุ่ยดังขึ้น พวกลูกเรือตกใจและกระโดดน้ำหนีไปหมด และได้กลายร่างเป็นโลมา
มาจนกระทั่งทุกวันนี้ เมื่อกลายเป็นโลมา
นิสัยของลูกเรือก็เปลี่ยนไปกลายเป็นสัตว์ที่ใจดี มีเมตตา
ทั้งยังเป็นผู้ช่วยของเทพเจ้าแห่งมหาสมุทร คือ โพไซดอน อีกด้วย
ด้วยเหตุนี้โลมาจึงได้รับเกียรติจากโพไซดอน
บันดาลให้เป็นกลุ่มดาวกลุ่มหนึ่งที่ชื่อว่า กลุ่มดาวโลมา (Delphinus)
รูปร่างของโลมา
โลมา
อาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วไปในมหาสมุทรนับร้อยชนิด
แต่ในประเทศไทยที่เรารู้จักกันดีมีอยู่ 2 ชนิด คือ โลมาปากขวด กับ โลมาหัวบาตร
บางครั้งยังพบโลมาอยู่ในแม่น้ำอีกด้วย เช่น ในแม่น้ำคงคาที่ประเทศอินเดีย
และในแม่น้ำโขง เป็นโลมาหัวบาตรน้ำจืด โลมา มีอวัยวะต่างๆทุกๆ
ส่วนเหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป หากแต่ละส่วนของอวัยวะ
จะปรับเปลี่ยนต่างไปจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป ดังนี้ จมูก โลมามีจมูกไว้หายใจ
แต่จมูกนั้นต่างไปจากจมูกของสัตว์ อื่นๆ เพราะตั้งอยู่กลางกระหม่อมเลยทีเดียว
เพื่อให้สะดวกต่อการเชิดหัวขึ้นหายใจเหนือน้ำ จากจมูกมีท่อหายใจต่อลงมาถึงปอดในตัว
จึงไม่จำเป็นต้องให้น้ำผ่านเหงือกเข้าไปในปอดเพื่อช่วยหายใจเหมือนปลาทั่วไป หู
หูของโลมานั้นเป็นเพียงแค่รูเล็กจิ๋วติดอยูด้านข้างของหัวเท่านั้น
แต่หูของโลมามีประสิทธิภาพสูงมาก รับคลื่นเสียงใต้น้ำได้อย่างยอดเยี่ยม โดยเฉพาะกับภาษาที่โลมาสื่อสารกันด้วยเสียงที่มีคลื่นความถี่สูง
การมองเห็น โลมามีดวงตาแจ่มใส เหมือนตาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีเปลือกตาปิดได้
และในเวลา กลางคืนตาก็จะเป็นประกาย เหมือนตาแมว
ตาของโลมาไม่มีเมือกหุ้มเหมือนตาปลา และมองเห็นได้ไกลถึง 50 ฟุต
เมื่ออยู่ในอากาศ สีผิว สีผิวของโลมาแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน
ส่วนมากจะออกไปในโทนสีเทา ตั้งแต่เข้มเกือบดำ จนกระทั่งถึงเกือบขาว
แต่โดยทั่วไปปลาโลมาจะมีสีผิวแบบทูโทนคัลเลอร์ คือมีสองสีตัดกัน ด้านบน
เป็นสีเทาเข็ม ด้านล่างเป็นสีเกือบขาว เพื่อพรางตัวในทะเล ไม่ให้ศัตรูเห็น เพราะเมื่อมองจากด้านบน
สีเข็มจะกลืนกับสีน้ำทะเล และถ้ามองจากด้านล่างขึ้นไป
สีขาวก็จะกลืนเข้ากับแสงแดดเหนือผิวน้ำ
•*´¨`*•.¸¸.•*´¨`*•.¸¸.•*´¨`*•.¸¸.•*´¨`*•.¸¸.•❈•*´¨`*•.¸¸.•*´¨`*•.¸¸.•*´¨`*•.¸¸.•*´¨`*•.¸¸.•
ความฉลาดของโลมา
ว่ากันว่า โลมานั้นฉลาดไม่แพ้เด็กตัวเล็กๆ
เลยทีเดียว ที่เป็นเช่นนี้เพราะโลมามีขนาดสมอง เมื่อเทียบกับลำตัวขนาดใหญ่มาก
แถมภายในสมองยังซับซ้อนอีกด้วย โลมาปากขวดนั้นถึงกับมีขนาดของสมอง
เทียบกับลำตัวใหญ่เป็นที่สองรองจากมนุษย์ และ สมองส่วนซีรีบรัม
อันเป็นส่วนของความจำ และการเรียนรู้ ก็มีขนาดใหญ่มาก เป็นศูนย์รวมของการรับกลิ่น
การมองเห็น และการได้ยิน จนทำให้ นักวิทยาศาสตร์ผู้หนึ่ง กล่าวว่า ไม่แน่นักว่าโลมาอาจจะฉลาดเท่ากับมนุษย์ก็เป็นได้
โลมาผู้ช่วยชีวิต เรื่องเล่าเกี่ยวกับปลาโลมาช่วยชีวิตคนนั้นมีอยู่บ่อยครั้ง
แต่จริงๆแล้ว เป็นเพราะปลาโลมาต้องการช่วยชีวิตคนจริงๆ หรือ เชื่อว่าจริงๆ แล้ว
ปลาโลมานั้นเป็นปลาที่อ่อนโยน รักสนุก และขี้เล่น ที่มันช่วยคนอาจเป็นเพราะมันต้องการเข้ามาเล่นสนุกๆ
เท่านั้น หรือไม่เช่นนั้นก็อาจเป็น
สัญชาตญาณของแม่ปลาที่มักจะดุนลูกขึ้นไปหายใจบนผิวน้ำอยู่เสมอ
โดยเฉพาะถ้าลูกปลาเสียชีวิต ระหว่างคลอด
จะพบว่าแม่ปลาจะพยายามดุนศพลูกเอาไว้ให้ใกล้ผิวน้ำมากที่สุด ภัยร้ายของโลมา
ในประเทศไทย โลมาที่ติดอวนมาแล้ว จะถูกชำแหละเนื้อขายด้วยราคาถูกๆ
เนื่องจากเนื้อปลาโลมามีความคาวมาก จึงไม่มีผู้นิยมบริโภคเท่าใดนัก
ในประเทศญี่ปุ่น แต่เดิมเคยเป็นประเทศที่ล่าปลาวาฬมากที่สุดในโลก
จนกระทั่งปลาวาฬใกล้สูญพันธ์ จึงถูกสั่งห้ามล่าปลาวาฬ หันมาล่าปลาโลมาแทน โดยเพิ่มปริมาณการล่าโลมาขึ้นเป็นสี่เท่า
ทำให้โลมาในทะเลญี่ปุ่นลดน้อยลงเป็นอันมาก
◆ ◇ลักษณะ◆ ◇
โลมา
อาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วไปในมหาสมุทรโดยทั่วไป
ลักษณะของโลมาที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ
มีรูปร่างเพรียวยาวคล้ายตอร์ปิโดหรือกระสวย ส่วนใหญ่มีปลายปากยื่นแหลม
แต่ก็มีบางชนิดที่มีส่วนหัวกลมมนคล้ายแตงโมหรือบาตรพระ มีหางแบนในแนวนอน
ไม่ใช่แนวตั้งเหมือนปลา เพื่อช่วยในการพุ้ยน้ำในแนวขึ้น-ลง ไม่มีขนปกคลุมลำตัว
ไม่มีเกล็ด รวมทั้งไม่มีเมือกด้วย
☼ ☀ ☁ ☂ ☃☄ ☾ ☽☼ ☀ ☁ ☂ ☃☄ ☾ ☽
นอกจากนี้แล้วยังมีมีอวัยวะต่าง ๆ
ทุกส่วนเหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป หากแต่ละส่วนของอวัยวะจะปรับเปลี่ยนต่างไปจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป
ดังนี้ จมูกของโลมามีไว้เพื่อหายใจ แต่จมูกนั้นต่างไปจากจมูกของสัตว์อื่น ๆ
เพราะตั้งอยู่กลางกระหม่อมเป็นรูกลม เพื่อให้สะดวกต่อการเชิดหัวขึ้นหายใจเหนือน้ำ
จากจมูกมีท่อหายใจต่อลงมาถึงปอดในตัว จึงไม่จำเป็นต้องให้น้ำผ่านเหงือกเข้าไปในปอดเพื่อช่วยหายใจเหมือนปลาหรือสัตว์น้ำอย่างอื่น
และจมูกของโลมาตรงส่วนนี้ไม่สามารถใช้ในการรับกลิ่นได้เหมือนกับสัตว์อื่นทั่วไป
ซึ่งในบรรดาวาฬมีฟันทุกชนิดต่างก็เป็นเช่นนี้เหมือนกันหมด หูของโลมานั้นเป็นเพียงแค่รูขนาดเล็กติดอยู่ด้านข้างของหัวเท่านั้น
มีประสิทธิภาพสูงมาก สามารถรับคลื่นเสียงใต้น้ำได้อย่างยอดเยี่ยม
เพราะโลมาเหมือนวาฬตรงที่เป็นสัตว์ที่ติดต่อสื่อสารกันด้วยคลื่นเสียงที่ปล่อยออกมา
โดยเฉพาะกับภาษาที่โลมาสื่อสารกันด้วยเสียงที่มีคลื่นความถี่สูง
โลมามีดวงตาไม่เล็กเหมือนอย่างวาฬ แววตาแจ่มใส
เหมือนตาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทอื่น มีเปลือกตาปิดได้
และในเวลากลางคืนตาก็จะเป็นประกาย คล้ายตาแมว ตาของโลมาไม่มีเมือกหุ้มเหมือนตาปลา
และมองเห็นได้ไกลถึง 50 ฟุต เมื่ออยู่ในอากาศ
สีผิวของโลมาแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน ส่วนมากจะออกไปในโทนสีเทา ตั้งแต่เข้มเกือบดำ
จนกระทั่งถึงเกือบขาว แต่โดยทั่วไปโลมาจะมีสีผิวแบบ 2
สีตัดกัน ด้านบน เป็นสีเทาเข็ม ด้านล่างเป็นสีเกือบขาว เพื่อพรางตัวในทะเล
ไม่ให้ศัตรูเห็น เพราะเมื่อมองจากด้านบน สีเข็มจะกลืนกับสีน้ำทะเล
และถ้ามองจากด้านล่างขึ้นไป สีขาวก็จะกลืนเข้ากับแสงแดดเหนือผิวน้ำ
โลมาถือเป็นสัตว์ที่ว่ายน้ำได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว
มีอัตราความเร็วในการว่ายน้ำประมาณ 55-58 กิโลเมตร/ชั่วโมง
♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥
☮☮การจำแนก☮☮
จากรายงานของทีมงานนักวิจัยจากสถาบันวิจัยชีววิทยาและประมงทะเลจังหวัดภูเก็ตพบว่า
ในน่านน้ำทะเลไทยนั้นมีรายงานการพบโลมาและวาฬจากอดีตจนถึงปัจจุบัน 19 ชนิด
คือ วาฬฟิน วาฬบรูด้า วาฬหัวทุย วารฬหัวทุยเล็ก วาฬหัวทุยแคระ วาฬฟันเขี้ยว
วาฬเพชฌฆาต วาฬเพชฌฆาตดำ วาฬนำร่องครีบสั้น วาฬหัวแตงโม โลมาเผือกหรือโลมาหลังโหนก
โลมาปากขวด โลมาฟันห่าง โลมาปากยาว โลมากระโดด โลมาแถบ โลมาลายจุด
โลมาหัวบาตรหรือโลมาอิระวดี และโลมาหัวบาตรหลังเรียบ โดยทั่วไปแล้ว
โลมาจะถูกจัดให้อยู่ในวงศ์ Delphinidae ซึ่งจำแนกออกเป็นสกุลต่าง ๆ
ได้ทั้งสิ้น 17 สกุล
โลมาแบ่งออกเป็นชนิดต่าง ๆ ได้ราว 40 ชนิด
แต่ก็ยังมีโลมาบางประเภทที่ถูกจัดออกเป็นวงศ์ต่างออกไป
สติปัญญา
♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥
โลมานั้นเป็นสัตว์ที่มีความเฉลียวฉลาดมาก
เชื่อว่า ความฉลาดของโลมานั้นเทียบเท่าเด็กตัวเล็ก ๆ เลยทีเดียว
หรือเป็นไปได้ว่าอาจจะฉลาดกว่าชิมแปนซี
ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีความใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุดด้วยซ้ำ
ที่เป็นเช่นนี้เพราะโลมามีขนาดของสมองเมื่อเทียบกับลำตัวแล้วนับว่าใหญ่มาก แถมภายในสมองยังซับซ้อนอีกด้วย
โดยเฉพาะโลมาปากขวดนั้นถึงกับมีขนาดของสมอง เมื่อเทียบกับลำตัวใหญ่แล้ว
ถือเป็นสัตว์ที่มีขนาดสมองใหญ่เป็นที่สองรองจากมนุษย์และสมองส่วนซีรีบรัม
อันเป็นส่วนของความจำและการเรียนรู้ ก็มีขนาดใหญ่มาก
เป็นศูนย์รวมของประสาทการรับกลิ่น, การมองเห็น และการได้ยิน
จนอาจเชื่อได้ว่าแท้จริงแล้ว โลมาอาจมีความฉลาดเทียบเท่ากับมนุษย์ก็เป็นได้
ซึ่งจากความฉลาดแสนรู้ของโลมา จึงทำให้เป็นที่นิยมนำมาฝึกแสดงโชว์ต่าง ๆ
ตามสวนสัตว์และสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำต่าง ๆ
นอกจากนี้แล้ว
โลมายังเป็นสัตว์ที่มีพฤติกรรมชอบช่วยเหลือมนุษย์ยามเมื่อเรือแตกหรือใกล้จะจมน้ำ
ทั้งนี้เพราะโลมาเป็นสัตว์ที่รักสนุกและขี้เล่น
ที่โลมาช่วยชีวิตมนุษย์อาจเป็นเพราะต้องการเข้ามาเล่นสนุกเท่านั้น
หรือไม่เช่นนั้นก็อาจเป็นสัญชาตญาณความเป็นแม่ที่มักจะดุนลูกขึ้นไปหายใจบนผิวน้ำอยู่เสมอ
โดยเฉพาะถ้าลูกโลมาเสียชีวิตระหว่างคลอด
จะพบว่าแม่โลมาจะพยายามดุนศพลูกเอาไว้ให้ใกล้ผิวน้ำมากที่สุดโดยปกติแล้ว
เนื้อโลมาไม่ใช่อาหารหลักเหมือนสัตว์เศรษฐกิจทั่วไป แต่ก็มีบางประเทศ อาทิ
ญี่ปุ่นนิยมบริโภคเนื้อโลมาและวาฬ เดิมญี่ปุ่นนั้นล่าวาฬเป็นหลัก
แต่ต่อมาได้มีการอนุรักษ์และกฎหมายที่เข้มงวดขึ้น จึงหันมาล่าโลมาแทน
โดยเพิ่มปริมาณการล่าโลมาขึ้นเป็นสี่เท่า
ทำให้โลมาในทะเลญี่ปุ่นลดน้อยลงเป็นอันมาก
โลมาสีชมพู ชื่อสามัญอีกชื่อหนึ่งว่า
โลมาหลังโหนก และชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sousa chinensis
✿.。.:* *.:。✿ ลักษณะทั่วไป✿.。.:* *.:。✿
โลมาสีชมพูมีขนาดประมาณ 2.2-2.8 เมตร ตัวเมียจะเล็กกว่าตัวผู้เล็กน้อย
หนักประมาณ 150-230 กิโลกรัม ตัวอ่อนมีขนาดตัวประมาณ 1 เมตร อายุเฉลี่ยประมาณ 40
ปี มีสีที่หลากหลายขึ้นอยู่กับอายุหรือ ฝูง
ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นสีเทาขาว สีดำ
และสีชมพู ตัวอ่อนจะมีสีเข้มกว่าตัวเต็มวัย ยิ่งแก่เท่าไหร่สีผิวจะยิ่งเป็นสีชมพูมากขึ้น
บริเวณผิวด้านล่างจะเป็นจุดๆ และมีสีที่สว่างกว่าด้านบน เมื่อแรกเกิดจะมีสีดำ
วัยเด็ก จะมีสีเทา วัยรุ่นเริ่มจะมีจุดสีเทาปนชมพูเกิดขึ้น
วัยผู้ใหญ่จะเป็นสีขาวออกชมพูและจุดสีเทาชมพูจะหายไป
...*...*...*...*สีชมพูมาจากไหน...*...*...*...*
โลมาสีชมพูยิ่งมีอายุมากจะมีสีสว่างขึ้นจนถึงเป็นสีชมพู
สีชมพูนี้ไม่ได้มาจากเซลเม็ดสี
แต่มาจากสีของหลอดเลือดที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะที่อุณหภูมิของร่างกายสูงเกินไป
พฤติกรรมโดยทั่วไป ชอบอยู่บริเวณชายฝั่ง
หรือบริเวณที่มีความลึกไม่เกิน 20 เมตร บริเวณที่โลมาอาศัยอยู่มักจะพบว่า
ชายฝั่งทะเลนั้นจะมีป่าชายเลนอยู่ด้วยเสมอ แต่จะต้องอยู่ในบริเวณน้ำตื้นเท่านั้น
โลมาสายพันธุ์นี้ชอบอาศัยประจำที่หรือมีการย้ายที่อพยพน้อยมากและอาศัยไม่ห่างจากชายฝั่งเกินระยะ
1 กิโลเมตร ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถพบเห็นได้โดยง่าย
โดยมักจะพบเห็นตั้งแต่ตอนเช้า จะอยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ ประมาณ 10 ตัว ว่ายน้ำช้า
ประมาณ 4.8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และจะดำน้ำประมาณ 40-60 วินาที
ก่อนจะโผล่ขึ้นมาหายใจ บางครั้งมีพฤติกรรมดุร้ายโดยเฉพาะเมื่อมีผู้ล่าเข้ามา
✿✿✿✿อาหารของโลมาสีชมพู✿✿✿✿
โลมาสีชมพูชอบกิน ปลาเล็ก ปลาหมึก
และสัตว์พวกกุ้ง เคย ปู เป็นต้น
เมื่อออกหาอาหาร จะใช้สัญญาณเอคโค และออกล่าเป็นกลุ่ม
ถึงแม้ว่าจะเป็นสัตว์ที่รวมกลุ่ม แต่โลมาสีชมพูก็จะดุร้ายได้เหมือนกัน
และจะต้องการแยกตัวเองออกไปพอสมควรจากตัวอื่นเมื่อต้องการหาอาหาร หรือต้องกินอาหาร
โลมาสีชมพูว่ากันว่า
โลมานั้นฉลาดไม่แพ้เด็กตัวเล็กๆ เลยทีเดียว ที่เป็นเช่นนี้เพราะโลมามีขนาดสมอง
เมื่อเทียบกับลำตัวขนาดใหญ่มาก แถมภายในสมองยังซับซ้อนอีกด้วย
โลมาปากขวดนั้นถึงกับมีขนาดของสมอง เทียบกับลำตัวใหญ่เป็นที่สองรองจากมนุษย์ และ
สมองส่วนซีรีบรัม อันเป็นส่วนของความจำ และการเรียนรู้ ก็มีขนาดใหญ่มาก
เป็นศูนย์รวมของการรับกลิ่น การมองเห็น และการได้ยิน จนทำให้
นักวิทยาศาสตร์ผู้หนึ่ง กล่าวว่า ไม่แน่นักว่าโลมาอาจจะฉลาดเท่ากับมนุษย์ก็เป็นได้
โลมาผู้ช่วยชีวิต เรื่องเล่าเกี่ยวกับปลาโลมาช่วยชีวิตคนนั้นมีอยู่บ่อยครั้ง
แต่จริงๆแล้ว เป็นเพราะปลาโลมาต้องการช่วยชีวิตคนจริงๆ หรือ เชื่อว่าจริงๆ แล้ว
ปลาโลมานั้นเป็นปลาที่อ่อนโยน รักสนุก และขี้เล่น
ที่มันช่วยคนอาจเป็นเพราะมันต้องการเข้ามาเล่นสนุกๆ เท่านั้น
หรือไม่เช่นนั้นก็อาจเป็น
สัญชาตญาณของแม่ปลาที่มักจะดุนลูกขึ้นไปหายใจบนผิวน้ำอยู่เสมอ
โดยเฉพาะถ้าลูกปลาเสียชีวิต ระหว่างคลอด จะพบว่าแม่ปลาจะพยายามดุนศพลูกเอาไว้ให้ใกล้ผิวน้ำมากที่สุด
ภัยร้ายของโลมา ในประเทศไทย โลมาที่ติดอวนมาแล้ว จะถูกชำแหละเนื้อขายด้วยราคาถูกๆ
เนื่องจากเนื้อปลาโลมามีความคาวมาก จึงไม่มีผู้นิยมบริโภคเท่าใดนัก
ในประเทศญี่ปุ่น แต่เดิมเคยเป็นประเทศที่ล่าปลาวาฬมากที่สุดในโลก จนกระทั่ง โลมาสีชมพู จึงชอบที่จะอาศัยอยู่ที่นี่ โดยส่วนใหญ่ ของ โลมาสีชมพู
จะหากินเป็นฝูงโดยการ ใช้เสียงความถี่ต่ำไล่ต้อนปลาและกินเป็นอาหาร แต่ตอนนี้ที่
ขนอม วิถีชีวิตของ โลมาสีชมพู ไดเปลี่ยนไปมาก
ส่วนหนึ่งเกิดจากนักท่องเที่ยวที่แค่อยากเห็น โลมา
จึงซื้อปลาที่ชาวประมงนำมาขายล่อให้โลมา ออกมา
ซึ่งคาดการณ์กันว่าหากเป็นอย่างนี้นาน การรวมฝูงเพื่อหาปลา การล่าจะหมดไป
สุดท้ายคือการสูญพันธุ์ในที่สุด โดยธรรมชาติ ของโลมาสีชมพู จะชอบโชว์ออฟอยู่แล้ว
แค่เราไปเที่ยว โดยเฉพาะการนั่งเรือหางยาว
ปลาก็จะแหวกว่ายมาใกล้เรือให้ได้ชมกันอยู่แล้ว
ชนิด อาหารที่พบในกระเพาะของซากโลมาหลังโหนกเกยตื้นว่า พบกลุ่มปลาจวดชนิด Johnius sp. บ่อยที่สุด ตามด้วยชนิด Collichthys lucida และ ปลากะตักชนิด Thryssa spp. และพบหมึกด้วยแต่เป็นจำนวนน้อยในขณะที่การสังเกตจากการสำรวจพบว่า เหยื่อที่โลมากินมีตั้งแต่ปลากระบอก ปลาตะกรับ และปลาที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่ง มีบางครั้งที่พบฝูงโลมา 2-3 ตัวช่วยกันล่าหมึกบริเวณใกล้ชายฝั่ง สังเกตได้จากน้ำหมึกในบริเวณที่มีการล่า จากการสำรวจบริเวณที่พบโลมาแสดง พฤติกรรม การกินอาหารบริเวณที่มีแหล่งหญ้าทะเลและป่าชายเลนซึ่งเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน และที่อาศัยของสิ่งมีชีวิตนานาชนิด
การพบโลมาสีชมพูที่ประเทศไทย
ⓛⓞⓥⓔ
พฤติกรรมของโลมา
- พฤติกรรมการหายใจ
โลมา หลังโหนกมักว่ายอยู่ใกล้ผิวน้ำ โดยชูจะงอยปากขึ้นจากน้ำก่อนที่จะโผล่หัวขึ้นตามมา แม้จะสามารถดำน้ำได้นานถึง 4-5 นาทีแต่โลมามักจะอยู่ใกล้และหายใจที่ผิวน้ำบ่อยครั้งมากกว่าดำอยู่ใต้น้ำเป็น เวลานานโดยหายใจทุกๆ 40-60 วินาที เมื่อช่องหายใจโผล่ออกมาสัมผัสอากาศ ลำตัวส่วนใหญ่ยังคงอยู่ใต้น้ำ มีเพียงส่วนหลังเพียงเล็กน้อยและครีบหลังที่โผล่พ้นน้ำ
- พฤติกรรมการเกี้ยวพาราสีและการผสมพันธุ์
โลมา หลังโหนกสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี จึงพบการเกี้ยวพาราสีและการผสมพันธุ์ของโลมาหลังโหนกอยู่บ่อยครั้งในช่วงที่ มีการแสดงพฤติกรรมทางสังคม และเกิดภายในขนาดของฝูงที่หลากหลาย (4-16 ตัวคละช่วงอายุ) โลมาที่แสดงพฤติกรรมเกี้ยวพาราสีและพฤติกรรมที่คล้ายการผสมพันธุ์ มักจะแยกตัวออกมาจากฝูง ซึ่งอาจมีจำนวน 2-6 ตัว ลักษณะที่แสดงให้ เห็นถึงพฤติกรรมการเกี้ยวพาราสีจะเริ่มจาก โลมาสองตัว (หรือมากกว่า)ว่ายคลอเคลียกันไปมา แสดงให้เห็นโลมาสองตัวว่ายประกบโลมาอีกตัว โดยสองตัวที่อยู่ข้างนอก (คาดว่าน่าจะเป็นตัวผู้) จะปีนขึ้นและถูท้องของตัวเองกับโลมาตัวที่อยู่ตรงกลาง (คาดว่าน่าจะเป็นตัวเมีย) โลมาที่อยู่ตรงกลาง ตัวนั้นจะแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวรวมถึงการตีครีบ และฟาดหาง ซึ่งลักษณะเช่นนี้ วิเคราะห์ว่าเป็นพฤติกรรมแสดงความรำคาญ โดยอาจเป็นไปได้ว่าโลมาตัวผู้ทั้งสองตัวนั้นพยายามที่จะทำการผสมพันธุ์โดยที่โลมาตัวเมียไม่เต็มใจ
- พฤติกรรมการเลี้ยงดูลูกโลมา (Nursing behavior)
โลมา หลังโหนกมีลักษณะเด่นประการหนึ่งคือ รูปแบบของสีบนลำตัวมีการผันแปรไปตามอายุ ลูกโลมาเกิดใหม่จะมีผิวลำตัวส่วนบนเป็นสีเทาเข้มจนถึงสีดำ ไม่มีจุดหรือรอยด่าง มีขนาดตัว 1/3-1/2 ของขนาดตัวเต็มวัย และสีจะอ่อนลงตามอายุ ตัวเต็มวัยจะมีสีขาวอมชมพู จุดหรือรอยด่างบริเวณผิวลำตัวส่วนบนอาจหายไปทั้งหมด
จากการสำรวจพบลูกโลมาเกิดใหม่จำนวน 2 ตัว สังเกตจากขนาดลำตัว รอยเยื่อหุ้มตัวอ่อน ที่มีลักษณะเป็นเส้นจางๆ ข้างลำตัว จากการสังเกตพฤติกรรมพบว่า แม่โลมามักจะคอยว่ายเคียงคู่ไปกับลูกโลมา โดยจะมีโลมาตัวอื่นมารวมฝูงกันเป็นช่วงเวลาสั้นๆ เพื่อช่วยดูแลระแวดระวังภัยเมื่อมีศัตรูหรือเรือเข้ามาใกล้ ในขณะที่แม่โลมากำลังเลี้ยงดูลูกอ่อนอยู่นั้น แม่โลมาจะระแวดระวังเป็นพิเศษ โดยจะคอยพาลูกว่ายหนีและพยายามอยู่ห่างจากเรือมากกว่าปกติ
จากการสำรวจพบลูกโลมาเกิดใหม่จำนวน 2 ตัว สังเกตจากขนาดลำตัว รอยเยื่อหุ้มตัวอ่อน ที่มีลักษณะเป็นเส้นจางๆ ข้างลำตัว จากการสังเกตพฤติกรรมพบว่า แม่โลมามักจะคอยว่ายเคียงคู่ไปกับลูกโลมา โดยจะมีโลมาตัวอื่นมารวมฝูงกันเป็นช่วงเวลาสั้นๆ เพื่อช่วยดูแลระแวดระวังภัยเมื่อมีศัตรูหรือเรือเข้ามาใกล้ ในขณะที่แม่โลมากำลังเลี้ยงดูลูกอ่อนอยู่นั้น แม่โลมาจะระแวดระวังเป็นพิเศษ โดยจะคอยพาลูกว่ายหนีและพยายามอยู่ห่างจากเรือมากกว่าปกติ
- พฤติกรรมการหลบหลีกเรือ
โลมา หลังโหนกค่อนข้างอ่อนไหวต่อการถูกรบกวนจากการสัญจรทางเรือบริเวณชายฝั่ง โลมาจะไม่ได้รับผลกระทบจากการว่ายน้ำหรือการเล่นกระดานโต้คลื่น แต่มักจะถูกรบกวนจากเรือที่ ใช้เครื่องยนต์ จากการสังเกตไม่พบว่าโลมาหลังโหนกมีพฤติกรรมการเล่นคลื่นหรือการว่ายโต้คลื่นที่หัวเรือ
เมื่อเปรียบเทียบกับโลมาปากขวด และ ไม่ค่อยเข้ามาใกล้เรือสำรวจ โดยเฉพาะในขณะที่เรือกำลังแล่น หากถูกรบกวนจากเรือ โลมาจะแสดงพฤติกรรมว่ายหนีโดยมักจะดำน้ำลงไปแล้วไปโผล่ในจุดอื่นหรืออาจว่าย เปลี่ยนทิศทางไปจากเดิม บางครั้งพบว่าโลมามีการว่ายลอดใต้ท้องเรือเพื่อเปลี่ยนทิศทางไปตรงกันข้ามกับที่เรือแล่นด้วย
เมื่อเปรียบเทียบกับโลมาปากขวด และ ไม่ค่อยเข้ามาใกล้เรือสำรวจ โดยเฉพาะในขณะที่เรือกำลังแล่น หากถูกรบกวนจากเรือ โลมาจะแสดงพฤติกรรมว่ายหนีโดยมักจะดำน้ำลงไปแล้วไปโผล่ในจุดอื่นหรืออาจว่าย เปลี่ยนทิศทางไปจากเดิม บางครั้งพบว่าโลมามีการว่ายลอดใต้ท้องเรือเพื่อเปลี่ยนทิศทางไปตรงกันข้ามกับที่เรือแล่นด้วย
เสียงของโลมา
ปกติ สัตว์บกมักจะมีประสาทรับเสียงและกลิ่นที่ฉับไวมากในสัตว์ทะเลนั้นมีปัจจัย เรื่องของน้ำและการดูดซับของเสียงจากน้ำ แต่เสียงสามารถเดินทางได้ดีในน้ำดังนั้นสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมจึงใช้ เสียงร้องและการได้ยินเป็นเครื่องมือสื่อสารขั้นพื้นฐานระหว่างกัน มันใช้เสียงในการสื่อสาร การหาอาหาร และการอพยพย้ายถิ่น นอกจากนี้ในฤดูผสมพันธุ์เสียงร้องยังมีส่วนสำคัญมากในการหาคู่ของมันอีกด้วย
ประโยชน์ของสัญญาณเสียง
- ใช้แทนการมองเห็นสภาพแวดล้อมใต้น้ำในสภาวะที่มีความขุ่นของน้ำและแสงสว่างไม่เพียงพอ
- ช่วยในการบอกทิศทาง ตำแหน่งของอาหาร
- ติดต่อสื่อสารระหว่างกันในกลุ่ม รวมถึงการกระตุ้นลูกโลมาแรกเกิดให้จำเสียงแม่ได้
- การเตือนภัยด้วยสัญญาณเสียง
สารคดีเกี่ยวกับโลมา