พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์
พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ความเห็นชอบเมื่อเดือนธันวาคม เมื่อปีที่ผ่านมา (2559) และได้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 24 มกราคม ล่าสุด มีผลบังคับใช้แล้วในวันที่ 24 พ.ค.นี้
พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2560 ก่อนหน้านี้ ร่างพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับใหม่ ผ่านการเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2559 ที่ผ่านมา ล่าสุดประกาศลงราชกิจจานุเบกษาแล้ว โดยมีชื่อว่า “พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560” ( พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ปี2560)โดยรายละเอียด พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 ( พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ปี2560) สามารถอ่านฉบับเต็มได้ที่เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา (คลิกที่นี่)ทั้งนี้ในมาตรา 2 ของพระราชบัญญัตินี้ ระบุว่า ให้บังคับใช้เมื่อพ้นกําหนด 120 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา นั่นหมายความว่าจะบังคับใช้ภายใน 31 พฤษภาคม 2560 พ.ร.บ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ปี 2560 คือร่างแก้ใขของ พ.ร.บ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ปี 2550 ที่ถูกปรับปรุงให้ทันสมัย เหมาะสมกับเวลาและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ดังนั้นโครงสร้างของกฎหมายสองฉบับจึงเหมือนกันเป็นส่วนใหญ่ และแน่นอนกฏหมายทั้งสองฉบับก็ต้องมีส่วนที่แตกต่างกันอยู่หลายประเด็น และหลายๆ ประเด็นก็ถูกตั้งคำถามมากมายว่าเป็นธรรมหรือไม่ เหมาะสมหรือไม่?
♔ ♕ ♖ ♗ ♘ ♙ ♚ ♛ ♜ ♝ ♞ ♟
พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2560 ถูกเริ่มร่างเมื่อปี 2558 และยังคงแก้ใขต่อเนื่องมาถึงปี 2559 ดังนั้น พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2558 ก็คือฉบับเดียวกันกับพ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2560 นั่นเองข้อแตกต่างระหว่าง พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2550 กับ พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2560(ขอบคุณภาพจาก ilaw)เนื้อหาสำคัญของ พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2560 ที่นำเสนอมีดังนี้การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วันที่ 28 เม.ย. จะมีการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ …) พ.ศ… วาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ ซึ่งเป็นร่าง พ.ร.บ.ที่ปรับปรุงเนื้อหาบางส่วนที่อยู่เดิมในพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550ทั้งนี้ ในร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ระบุถึงเหตุผลที่ต้องมีการแก้ไข พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับปัจจุบันว่า “พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมต่อการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน…….ซึ่งมีรูปแบบการกระทำความผิดที่มีความซับซ้อนมากขึ้นตามพัฒนาการทางเทคโนโลยี ซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่า24 พ.ค.60 - พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ความเห็นชอบเมื่อเดือนธันวาคม ปีที่แล้ว และประกาศลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 24 มกราคม ที่ผ่านมา มีผลบังคับใช้แล้วในวันนี้ (พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนด 120 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา)
ก่อนที่กฎหมายฉบับนี้จะคลอดออกมา ได้ถูกกระแสคัดค้านอย่างหนัก โดยผู้ไม่เห็นด้วยเห็นว่าร่างกฎหมายนี้ไม่มีความชัดเจน กระทบสิทธิประชาชน ปิดกั้นการตรวจสอบ เปิดช่องไม่ต้องใช้คำสั่งศาลในการปิดเว็บไซต์ รวมทั้งอาจมีการสร้างซิงเกิ้ลเกตเวย์ฯ และทางเครือข่ายพลเมืองเน็ตได้ยื่นรายชื่อประชาชน 3 แสนรายชื่อขอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คว่ำร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว แต่ถึงที่สุดสภานิติบัญญัติแห่งชาติก็ให้ความเห็นชอบร่างกฎหมายนี้ด้วยเสียงเอกฉันท์ (อ่าน...ร่างพ.ร.บ.คอมพ์ ผ่านฉลุย! สนช.เมินเสียงค้าน)
✿.。.:* *.:。✿ ✿.。.:* *.:。✿
สำหรับเนื้อหาสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ เช่น กำหนดความผิดฐานส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น อันมีลักษณะเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้รับ หรือ "ส่งสแปม" ให้มีโทษปรับ 200,000 บาท (เพิ่มจากเดิม 100,000 บาท) การให้มีคณะกรรมการกลั่นกรอง 9 คน ขึ้นมาพิจารณาและเสนอแนะต่อรัฐมนตรีว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดที่ควรจะขออนุญาตต่อศาลให้ปิดกั้นการเข้าถึง หรือ ให้ศาลสั่งบล็อคเว็บไซต์เตือนความจำกันสักหน่อย เพื่อการใช้ออนไลน์อย่างถูกกฎหมาย สำหรับสาระสำคัญที่หลายคนควรพึงระวังใน พ.ร.บ.ว่าด้วยกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับ 2มีสาระสำคัญจำง่ายๆ ดังนี้
1. การฝากร้านใน Facebook, IG ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
2. ส่ง SMS โฆษณา โดยไม่รับความยินยอม ให้ผู้รับสามารถปฏิเสธข้อมูลนั้นได้ ไม่เช่นนั้นถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
3. ส่ง Email ขายของ ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
4. กด Like ได้ไม่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ ยกเว้นการกดไลค์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถาบัน เสี่ยงเข้าข่ายความผิดมาตรา 112 หรือมีความผิดร่วม
5. กด Share ถือเป็นการเผยแพร่ หากข้อมูลที่แชร์มีผลกระทบต่อผู้อื่น อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพ์ฯ โดยเฉพาะที่กระทบต่อบุคคลที่ 3
6. พบข้อมูลผิดกฎหมายอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา แต่ไม่ใช่สิ่งที่เจ้าของคอมพิวเตอร์กระทำเอง สามารถแจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ หากแจ้งแล้วลบข้อมูลออกเจ้าของก็จะไม่มีความผิดตามกฎหมาย เช่น ความเห็นในเว็บไซต์ต่าง ๆ รวมไปถึงเฟซบุ๊ก ที่ให้แสดงความคิดเห็น หากพบว่าการแสดงความเห็นผิดกฎหมาย เมื่อแจ้งไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อลบได้ทันที เจ้าของระบบเว็บไซต์จะไม่มีความผิด
7.สำหรับ แอดมินเพจ ที่เปิดให้มีการแสดงความเห็น เมื่อพบข้อความที่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ เมื่อลบออกจากพื้นที่ที่ตนดูแลแล้ว จะถือเป็นผู้พ้นผิด
8. ไม่โพสต์สิ่งลามกอนาจาร ที่ทำให้เกิดการเผยแพร่สู่ประชาชนได้
9. การโพสเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน ต้องปิดบังใบหน้า ยกเว้นเมื่อเป็นการเชิดชู ชื่นชม อย่างให้เกียรติ
10. การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ต้องไม่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียเชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ญาติสามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย
11. การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น มีกฏหมายอาญาอยู่แล้ว ไม่มีข้อมูลจริง หรือถูกตัดต่อ ผู้ถูกกล่าวหา เอาผิดผู้โพสต์ได้ และมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
12. ไม่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด ไม่ว่าข้อความ เพลง รูปภาพ หรือวิดีโอ
13. ส่งรูปภาพแชร์ของผู้อื่น เช่น สวัสดี อวยพร ไม่ผิด ถ้าไม่เอาภาพไปใช้ในเชิงพาณิชย์ หารายได้
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่มีผลบังคับใช้แล้ว ซึ่งยังมีอีกหลายประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ ดังนั้นจึงควรรู้กฎกติกาการใช้งานไว้ก่อน ก็จะช่วยป้องกันไม่ให้เราเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมาย
㋡㋡㋡㋡㋡㋡㋡㋡㋡㋡㋡㋡
โปรดเกล้าฯ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เริ่มใช้บังคับ พ.ค.2560 นี้ คณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อขอให้ศาลสั่ง "บล็อก-ปิด" เว็บไซต์ยังอยู่ แม้เคยถูกลงชื่อค้านถึง 300,000 รายชื่อ
วานนี้ (24 ม.ค. 2560) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 หรือ "พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์" ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติเห็นชอบไปเมื่อปลายปี 2559 และได้รับการโปรดเกล้าฯ จากพระมหากษัตริย์แล้ว อย่างไรก็ตาม กว่าที่กฎหมายนี้จะมีผลใช้บังคับก็อีก 120 วันถัดไป หรือช่วงปลาย พ.ค.2560
☛สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม มีอาทิ
- เพิ่มเติมความผิดของการส่งสแปมเมล์ โดยกำหนดโทษปรับ 200,000 บาท (มาตรา 11)
- แก้ไขให้ไม่สามารถนำไปฟ้องฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญาได้ (มาตรา 14(1))
- แก้ไขให้ยกเว้นความผิดสำหรับผู้ให้บริการได้หากยอมลบข้อมูลที่ผิดกฎหมาย (มาตรา 15)
- เพิ่มเติมให้ผู้ใดที่มีข้อมูลซึ่งศาลสั่งให้ทำลายอยู่ในครอบครองจะต้องทำลายไม่เช่นนั้นจะได้รับโทษด้วย (มาตรา 16/2)
- เพิ่มเติมให้มีคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ ขึ้นมาพิจารณาว่าข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดที่จะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สามารถส่งฟ้องศาลเพื่อระงับหรือลบข้อมูลดังกล่าวได้ (มาตรา 20) ฯลฯ
นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ของ สนช. เคยกล่าวว่า กฎหมายนี้ได้มีการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น เช่น มาตรา 14(1) ที่เดิมใช้ฟ้องหมิ่นประมาท ก็แก้ให้ชัดเจนว่าหมายถึงการปลอมตัวออนไลน์เพื่อไปหลอกเงิน หรือ phishing เท่านั้น ซึ่งจะทำให้ต่อไปคดีหมิ่นประมาทที่ฟ้องตามมาตรานี้ถูกศาลยกฟ้องทั้งหมด โดยคดีน่าจะหายไปราว 50,000 คดี หรือมาตรา 15 ที่ให้ผู้ให้บริการไม่มีความผิดทันทีหากยอมลบข้อมูลที่ผิดกฎหมาย ส่วนมาตรา 20 ในคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ 9 คน ก็ให้มีตัวแทนจากภาคเอกชนถึง 3 คน และการกลั่นกรองก่อนจะถึงศาล ก็มีถึง 3 ขั้นตอน ประกอบด้วยคณะอนุกรรมการ คณะกรรมการ และ รมว.ดีอี
ด้านนายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันอิศรา กล่าวว่า บทบัญญัติของกฎหมายไม่ได้น่ากลัว สิ่งที่น่ากลัวคือการใช้อำนาจโดยมิชอบของภาครัฐ ที่ผ่านมาสำนักข่าวอิศราเคยถูกผู้ให้บริการแจ้งขอให้ปิด URL ของข่าวที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลนี้ 2 ข่าว โดยอ้างว่าเป็นคำสั่งของผู้มีอำนาจ แต่ไม่ระบุตัวผู้ออกคำสั่ง ถือเป็นการใช้อำนาจตามมาตรา 20 ระงับข้อมูลที่ถูกพิจารณาว่าผิดกฎหมาย แต่กลับใช้อำนาจผ่านผู้ให้บริการแทนที่จะไปศาล
- ห่วง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ถูกใช้เพื่อกลั่นแกล้ง ปิดปาก และเหมารวม
- ประชาชนเรียกร้อง สนช. ทบทวน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่
สำหรับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นี้ เคยถูกคัดค้านอย่างหนัก ก่อนการพิจารณาในวาระที่ 2 และ 3 ในที่ประชุมของ สนช. ช่วงปลายปี 2559 โดยมีผู้ร่วมลงชื่อกว่า 300,000 คนในเว็บไซต์ change.org เรียกร้องให้ สนช.ชะลอการพิจารณาไปก่อน ซึ่งหนึ่งในประเด็นสำคัญที่หลายฝ่ายเป็นห่วงคือมาตรา 20/1 ที่ให้คณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์เสนอศาลบล็อกหรือปิดเว็บไซต์ใดก็ได้ ถ้าเห็นว่าขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี แม้ไม่ผิดกฎหมายอื่นใด ซึ่งนับแต่เป็นร่าง พ.ร.บ. จนที่ประกาศลงในเว็บไซต์ราชกิจจาฯ เนื้อหาในส่วนนี้ก็ยังอยู่ แม้จะมีการย้ายจากมาตรา 20/1 มาเป็นมาตรา 20 และเพิ่มจำนวนคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ จาก 5 คน เป็น 9 คน ก็ตาม
ดูสรุป พ.ร.บ. กัน
นอกจากนี้การฝากร้านตาม Social Media ของคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตถือว่าเป็นการ SPAM มีความผิดด้วยครับ โดยปรับข้อความละไม่เกิน 2 แสนบาท *(มีอ้างอิงท้ายบทความ) ทั้งนี้แอดมินเว็บไซต์ แอดมินเว็บบอร์ด แอดมินเพจ แอดมิน Social Media ต่างๆ หากพบผู้ชมมาคอมเมนท์ที่เข้าข่ายผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ (รวมถึงมีการได้รับแจ้ง) เมื่อลบแล้วจะพ้นความผิด
ไม่มี Single Gateway แล้วแก้ไขอะไรบ้าง?
สาระสำคัญพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560
นอกจากนี้ท่านสามารถอ่านพ.ร.บ. ดังกล่าวฉบับเต็มได้
พรบ. คอมพิวเตอร์ 2560
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น